BEHAVIOR
 
 

Change language :: Thai / English

หน้าหลัก

กลไกการเกิดพฤติกรรม

พฤติกรรมที่มีมาตั้งแต่กำเนิด
     :: โอเรียนเตชัน
     :: รีเฟล็กซ์
     :: รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง
     
พฤติกรรมการเรียนรู้
     :: Habituation
     :: Imprinting
     :: Trial and Error
     :: Conditioning
     :: Reasoning

พฤติกรรม กับพัฒนาการ
    ของระบบประสาท


การสื่อสารระหว่างสัตว์
     :: การสื่อสารด้วยท่าทาง
     :: การสื่อสารด้วยเสียง
     :: การสื่อสารด้วยการสัมผัส
     :: การสื่อสารด้วยสารเคมี
     :: การสื่อสารด้วยคลื่น
     :: การแผ่สนามแม่เหล็ก

เฉลยคำถามท้ายบท หลักสูตร50


 

การสื่อสารด้วยท่าทาง ( Visual communication )

         การสื่อสารด้วยท่าทางหรืออีกนัยหนึ่งเป็นการสื่อสารด้วยภาพ อาศัยดวงตาเป็นตัวรับภาพ ซึ่งการสื่อสารของสัตว์ในลักษณะนี้ จะสามารถระบุตำแหน่งของผู้สื่อสาร ได้ค่อนข้างแม่นยำ เป็นการสื่อสารที่สื่อความหมายเพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย ท่าทางของร่างกายอาจเป็นการ เคลื่อนไหว การเปลี่ยนรูปร่าง รูปทรงของร่างกาย การแสดงออกมาทางใบหน้า หรือการเปลี่ยนสีต่างๆของสัตว์บางชนิด

         การสื่อสารด้วยท่าทางเป็นการสื่อสารด้วยภาพ ซึ่งจำเป็นต้องใช้แสงเพื่อช่วยในการมองเห็น ดังนั้นการสื่อสารลักษณะนี้จะ มีประสิทธภาพดีในตอนกลางวัน อย่างไรก็ตามพบว่ามีสัตว์บางพวกที่สามารถสื่อสารด้วยภาพในตอนกลางคืน โดยการเปล่งแสง เช่น หิ่งห้อย

        การสื่อสารด้วยท่าทางมีวัตถุประสงค์หลากหลายเช่น เพื่อเกี้ยวพาราสี ข่มขู่ศัตรู เพื่อป้องกันอาณาเขต หรือเพื่อหาอาหาร

         ข้อจำกัดของการสื่อสารด้วยภาพ คือไม่สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกล โดยเฉพาะการส่งสัญญาณผ่านป่าทึบ หรือกรณีการเปลี่ยนสีของสัตว์ มักโดดเด่นและดึงดูดผู้ล่า ดังนั้นสัตว์จะสื่อสารสิ่งเหล่านี้เมื่อเวลาจำเป็นเท่านั้น เช่นการเกี้ยวพาราสีเพื่อการสืบพันธุ์

ประเภทของการสื่อสารด้วยท่าท่าง

1. ป้ายแสดงลักษณะที่สื่อสารออกมา (Badges)
     เป็นลักษณะเฉพาะตัวของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด เช่น สี รูปร่าง รูปทรง ที่แตกต่างกันในสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น สามารถสื่อสารให้สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน หรือต่างชนิดเข้าใจ ได้ เช่น ลักษณะในแต่ละเพศของสิ่งมีชีวิต ตัวอย่าง เช่น

        ๐ ลักษณะติ่งเพศของปลา (urogenital papillae) แต่ละชนิดจะแตกต่างกัน เช่น ติ่งเพศของปลาดุก ติ่งเพศของปลาดุก จะอยู่ถัดจากทวารหนักลงมา ติ่งเพศเพศผู้จะมีลักษณะเรียวยาวยื่นออกมา ปลายแหลม  ปลาดุกเพศเมีย ติ่งเพศจะมีลักษณะค่อนข้างกลมรี รูปไข่ปลายมน สั้น และเห็นชัดเจนกว่าเพศผู้

ภาพ แสดงติ่งเพศของปลาดุกซึ่งเป็นรูปทรงที่แตกต่างกันในเพศผู้ และเพศเมีย
ที่มาภาพ https://www.thaikasetsart.com
 http://www.sure.su.ac.th

 

        ๐ สีกับการแยกเพศ เช่น สีบริเวณเหนือจงอยปากของนกหงส์หยก ในเพศเมียจะมีสีขาว สีครีม หรือสีน้ำตาลอ่อนๆ โดยเฉพาะช่วงใกล้ผสมพันธุ์ สีจะเข้มขึ้น จะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ส่วนในพศผู้จะมี สีฟ้า สีน้ำเงิน หรือสีม่วงเข้ม ในช่วงเวลาใกล้ผสมพันธุ์สีจะเข้มขึ้น

ภาพ แสดงสีเหนือจงอยปากของนกหงส์หยกเพศผู้และเพศเมีย
ที่มา:: https://www.omlet.co.uk/guide/budgies

2. การแสดงท่าทางเพื่อสื่อสาร (Displays)
        เป็นการแสดงพฤติกรรมออกมา เพื่อสื่อความหมายและส่งสัญญาณ ตัวรับที่เป็น สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน เช่น

๐ การเต้นรำของผึ้ง เพื่อบอกแหล่งอาหาร
๐ การเปลี่ยนสีภายในไม่กี่วินาที
   ของปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิด
๐ การแสดงออกทางสีหน้าของสัตว์ชั้นสูง
๐ การกระพริบแสงของหิ่งห้อย

 

 

 

   

เรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ